3.13.2009

How to speak in American - Office Phone



ในการสนทนาทางโทรศัพท์เรามักใช้ Could มากกว่า Can เพราะแสดงความเป็นทางการกว่าในการสนทนา

Making Telephone calls
มารยาทในการพูดโทรศัพท์

Phone Manners
1. ถ้าต้องการโทรศัพท์ถึงคนที่ท่านไม่รู้จักควรใช้คำนำหน้าชื่อด้วย
2. เมื่อรับโทรศัพท์ ควรใช้คำพูดว่า
(ชื่อผู้พูด) Miss Anna speaking, who's that?"
หรือใช้คำว่า " Yes" ด้วยเสียงสูงคล้ายประโยคคำถาม
3. ถ้าต้องการให้ผู้โทรถือสายรอเพื่อ ควรพูดว่า
Hold the line, please. หรือ Just a moment ,please.
4. ถ้าบุคคลที่ผู้โทรต้องการพูดด้วยไม่อยู่
ให้ถามว่ามีข้อความที่ต้องการฝากไว้หรือไม่
......... (ชื่อบุคคลที่ไม่อยู่ ) isn't in , Will you leave a massage ?
หรือ ......... (ชื่อบุคคลที่ไม่อยู่ ) isn't in , May I take a massage?
หรือให้ผู้โทรมาติดต่อกลับมาใหม่ ควรพูดว่า
......... (ชื่อบุคคลที่ไม่อยู่ ) isn't in . Will you call back later?
5. ถ้าท่านต่อเบอร์ผิด ควรพูดว่า
I'm sorry , I must have the wrong number.
6. ถ้ามีบุคคลโทรมาแต่หมุนเบอร์ผิด ควรตอบว่า
Sorry ,wrong number.
หรือ You must have dialed the wrong number ?
7. ถ้าผู้ที่รับสายไม่ใช่ผู้ที่ท่านต้องการพูดโดยตรง ควรพูดว่า
May I speak to ………….. (ชื่อผู้ที่ต้องการพูดด้วย)?
ไม่ยากเลยนะคะ มารยาทในการรับโทรศัพท์เป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติทั้งคนไทยและชาวต่าง

จาก:http://www.school.net.th/library/create-web/10000/language/10000-5577.html

How to answer and speak on the phone
Answering the phone การตอบรับโทรศัพท์
- Good morning/afternoon/evening, York Enterprises, Elizabeth Jones speaking.
- Who’s calling, please?
Introducing yourself การแนะนำตนเองทางโทรศัพท์
- This is Paul Smith speaking.
- Hello, this is Paul Smith from Speak the Speak International.
Asking for someone การขอพูดสายกับบุคคลอื่น
- Could I speak to John Martin, please?
- I’d like to speak to John Martin, please.
- Could you put me through to John Martin, please?
- Could I speak to someone who …
Explaining การอธิบายในกรณีบุคคลที่คู่สนทนาต้องการพูดสายด้วยไม่อยู่
- I’m afraid Mr Martin isn’t in at the moment.
- I’m sorry, he’s in a meeting at the moment.
- I’m afraid he’s on another line at the moment.
Putting someone on hold ขอคู่สนทนาให้รอสาย
- Just a moment, please.
- Could you hold the line, please?
- Hold the line, please.
Problems กรณีเกิดปัญหาในการสื่อสาร
- I’m sorry, I don’t understand. Could you repeat that, please?
- I’m sorry, I can’t hear you very well. Could you speak up a little, please?
- I’m afraid you’ve got the wrong number.
- I’ve tried to get through several times but it’s always engaged.
- Could you spell that, please?
Putting someone through การโอนสารสนทนา
- One moment, please. I’ll see if Mr Jones is available.
- I’ll put you through.
- I’ll connect you.
- I’m connecting you now.
Taking a message การรับฝากข้อความ
- Can I take a message?
- Would you like to leave a message?
- Can I give him/her a message?
- I’ll tell Mr Jones that you called
- I’ll ask him/her to call you as soon as possible.

จาก:http://varee.ac.th/v2/Tissy/?p=22






How To Speak English Like A Native Speaker


การเรียนภาษาอังกฤษของคนไทยเริ่มตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา หรือไม่ก็ชั้นอนุบาล ลองตรองดูก็จะรู้ว่า ส่วนใหญ่พวกเรานั้นเรียนภาษาอังกฤษมาแล้วนับสิบปี แต่ทำไมถึงใช้ไม่คล่องสักที โดยเฉพาะภาษาพูด ตั้งแต่ผู้เขียนจำความในการเรียนภาษาอังกฤษมาได้ จากเริ่มต้นเลยก็คือสมัยประถมศึกษา ไม่เคยได้เรียนการพูดจริงจังเลยในโรงเรียน (ยังดีที่ไปเรียนพิเศษกับครูฝรั่ง) เลยไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมคนไทยถึงใช้ภาษาพูดได้ไม่ดีเท่าที่ควร ทั้งที่ในด้านไวยากรณ์และการอ่านนั้นคนไทยถนัดนัก

อย่างไรก็ตามปัจจุบันก็มีคนไทยจำนวนมากที่พูดภาษาอังกฤษได้ดีทั้งทางด้านสำเนียงและไวยากรณ์ด้วยยุคสมัยที่พัฒนาขึ้น มีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะไม่กล้าพูดและพูดได้ไม่ดี
เหตุผลที่ทำให้คนไทยพูดภาษาอังกฤษได้ไม่ดีเท่าที่ควรก็มีอยู่หลายด้าน จากที่ผู้เขียนประมวลมาดังนี้
คนไทยกลัวที่จะพูดกับฝรั่ง ถึงแม้จะเข้าไปอยู่ในห้องเรียนที่มีครูเป็นฝรั่ง ก็ยังจะกลัวที่จะพูดกันสาเหตุก็มาจากว่า กลัวจะพูดผิดนั่นแหละ ขอบอกเลยว่าไม่ต้องกลัว ฝรั่งเขาเข้าใจว่านี่ไม่ใช่ภาษาบิดามารดาของเรา และเขาก็พอจะเดาได้ว่า เราต้องการจะสื่อสารอะไร ถ้าไม่เข้าใจนักก็ใส่ภาษาใบ้เข้าไปช่วย ขอให้ไปพูดกับเขาเถอะ อย่างน้อยก็เป็นการฝึกความกล้า

คนไทยมัวพะวงอยู่กับไวยากรณ์ พอจะพูดสักหนึ่งประโยค ก็คิดอยู่นั่นแหละว่า จะใช้กริยาช่องไหน ผันยังไง ใช้ประธานอะไรดีนะ เพราะฉะนั้น อย่าไปกังวลให้มาก มั่นใจเข้าไว้และพยายามพูดบ่อยๆ การฝึกพูดเป็นประจำนั่นแหละ จะเป็นตัวที่ทำให้หายตื่นเต้น แล้วจะไปฝึกพูดที่ไหนล่ะ ถ้าเกิดไม่ได้ไปเรียนกับครูฝรั่งจะให้ไปตามล่าหาฝรั่งมาพูดด้วยก็ใช่ที่

ผู้เขียนมีวิธีแนะนำที่ช่วยทำให้การพูดและออกเสียงภาษาอังกฤษได้ดีขึ้น ดังนี้
ฝึกพูดในใจ พอคิดอะไรเพลินๆ แล้วก็ลองแปลเป็นภาษาอังกฤษของตัวเองดูในใจ เป็นการเตรียมพร้อมเสมอเอาไว้ ข้อนี้อาจจะยากสักหน่อย แต่รับรองว่า ถ้าทำเป็นประจำจะทำให้การพูดคล่องขึ้น เพราะจะคิดออกมาได้เร็วขึ้น

ฝึกพูดหน้ากระจก อันนี้เป็นการฝึกสำเนียงให้ดี เวลาพูดหน้ากระจกก็ปิดหูเอาไว้ด้วยก็ได้ จะได้ฟังสำเนียงตัวเองว่าไฮโซแค่ไหน ถ้ายังฟังดูธรรมดาเกินไป เคล็ดลับก็มีอยู่ว่ากระแดะเข้าไว้ คิดว่าพูด แบบไหนแล้วฟังเหมือนฝรั่งที่สุดก็ฝึกแบบนั้นบ่อยๆ

ฝึกดูหนังที่เป็นแบบ soundtrack ก็คือแบบที่พูดภาษาอังกฤษนั่นแหละ อาจจะมีบทบรรยายเป็นภาษาไทยก็ดี หรือจะดูแบบที่เป็นบทบรรยายภาษาอังกฤษไปเลยก็ได้ อาจจะดูไม่รู้เรื่องบ้าง แต่ก็จะทำให้การฟังของเราดีขึ้น และเรียนรู้สำเนียงฝรั่งไปในตัวด้วย ในการดูหนังแบบนี้ อย่ามัวแต่อ่านบทบรรยายภาษาไทยข้างล่างล่ะ ฟังไปด้วย ฟังออกบ้างไม่ออกบ้างก็ไม่เป็นไร พอเราได้ยินคำศัพท์ที่เราไม่เข้าใจ แต่เห็นเหตุการณ์และท่าทางของตัวแสดง จะทำให้เราเดาได้ว่า มันหมายความว่าอย่างไร

ฝึกฟังเพลงภาษาอังกฤษแล้วร้องตาม เนื้อเพลงนั้นจะแกะเองหรือจะไปหาตามอินเตอร์เน็ตก็ได้ การร้องตามจะเป็นการฝึกสำเนียงตามเพลงไปในตัว นอกจากนี้ก็หาความหมายของเพลงไปด้วย จะเป็นวิธี การจำศัพท์ที่ดีอีกหนึ่งวิธี แต่วิธีนี้จะไม่เหมาะกับเพลงแร็พเท่าไร เพราะจะร้องตามไม่ทัน ควรหาแนวเพลงประเภทช้าๆ จะดีกว่า

เรียนภาษาอังกฤษกับเจ้าของภาษา ตอนนี้ ครูฝรั่งมีอยู่มากมายก็ไปเลือกเรียนเอาและถ้าเข้าไปเรียนแล้วก็พูดเยอะๆ เข้าไว้ จะได้คุ้มๆ และได้ผล การเรียนกับครูฝรั่งนี้เป็นอีกทางหนึ่งที่ได้ผลมาก และจะดีมากถ้าเรียนได้ทุกวันหรือบ่อยครั้งต่ออาทิตย์ ไม่ต้องกลัวไม่รู้เรื่อง ครูฝรั่งจะพูดช้าลงให้ทุกคนเข้าใจง่าย โดยเฉพาะในหลักสูตรการฟัง การพูดจะทำให้การพูดพัฒนาขึ้นเยอะ ถ้าเรียนบ่อยครั้งในระยะเวลานาน จะยิ่งเห็นผล ข้อนี้เป็นวิธีที่ผู้เขียนเห็นว่าช่วยด้านการพูดได้มาก แต่คนไทยมักจะมองข้ามไปเพราะอยากแต่จะเรียนพิเศษแบบที่ช่วยเรื่องการสอบได้ เด็กไทยเห็นเรื่องสอบเป็นเรื่องสำคัญเกินไป ไม่ดีหรอกนะ จะบอกให้

ไปเมืองนอกเลย ไปแล้วไม่ต้องเอาแต่คุยกับคนไทยนะ ไปอยู่ในที่ที่ไม่ค่อยมีคนไทยนั่นแหละดี หันไปไหนก็เจอแต่ฝรั่ง ภาวะไม่พูดไม่ได้แล้วนั่นแหละจะเป็นการบีบคั้นเอาสัญชาตญาณขั้นพื้นฐานด้าน การปรับตัวของมนุษย์ออกมา ทีนี้แหละ พูดไม่ได้ฟังไม่ออกก็อดตาย ข้อนี้เป็นข้อที่เปลืองที่สุดและยากที่สุด กว่าจะขอวีซ่า อะไรต่อมิอะไรอีก ย้อนกลับไปดูข้ออื่น จะคุ้มกว่า แต่ตอนนี้ก็มีหลายบริษัทหลายองค์กร ที่ให้ทุนไปเรียนหรือไปทำงานในฐานะนักเรียนแลกเปลี่ยน ใครสนใจก็ค้นหาเอาตามอินเตอร์เน็ต มีเยอะเลยแหละ แต่ต้องระวังเลือกเอาที่มีคนเคยไปเยอะๆ และเปิดมานาน

ข้อแนะนำเหล่านี้เป็นการช่วยในทั้งทางด้านการพูดและการฟังที่ระบบการศึกษาไทยไม่ค่อยให้การสนใจเท่าไหร่ เห็นได้จากที่ในข้อสอบที่สำคัญต่างๆ เช่น ข้อสอบสอบเข้ามหาวิทยาลัย ข้อสอบตามโรงเรียน เป็นต้น ไม่มีการพูดและการฟังบรรจุอยู่ อาจจะด้วยว่าถ้าเกิดทำแล้วจะเกิดความอลวนได้ จากความไม่พร้อมทั้งทางด้านระบบเสียงหรืออะไรต่างๆ การเห็นว่าไม่มีในข้อสอบจึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นักเรียนไทยไม่ให้ความสนใจต่อการพูดและการฟังนี้ โดยหารู้ไม่ว่าตอนที่เรียนจบแล้วอยู่ในช่วงเวลาหางานและการใช้ในชีวิตประจำวัน การพูดการฟังนี่แหละสำคัญที่สุดซึ่งส่วนใหญ่เวลาสัมภาษณ์งานก็เป็นภาษาอังกฤษทั้งนั้น เพราะฉะนั้นอย่ามองข้ามไปอย่างเด็ดขาด ฝึกไว้เสียแต่เนิ่นๆ เวลาใช้จริงจะได้ไม่ติดขัดและขัดเขิน


ขั้นตอนต่อไปในการที่จะพูดภาษาอังกฤษให้เหมือนฝรั่งก็คือ การเข้าใจการใช้ภาษาพูดของฝรั่ง อย่ายึดติดแต่ในตำรา เพราะยังมีคำอีกหลายคำที่ฝรั่งใช้พูดในชีวิตประจำวัน ซึ่งบางคำบางประโยคก็เป็นแค่ภาษาพูดเท่านั้น นอกจากนี้ การใช้ภาษาอังกฤษของชาวอเมริกันและชาวอังกฤษนอกจากสำเนียงต่างกันอย่างชัดเจนแล้ว ยังมีบางคำที่เป็นภาษาเฉพาะด้วย
เริ่มต้นจากการทักทาย มีคำทักทายหลายคำถามและหลายประโยคที่คนไทยอาจจะงงเมื่อถูกถามและทำให้ตอบแบบผิดๆ


ตัวอย่างที่ 1 ที่กำลังฮิตกันในตอนนี้ของฝรั่งคือจะถามว่า Q : How are you doing? ซึ่งก็เหมือนๆ กับ How are you? นั่นแหละแต่ผู้พูดจะต้องตอบว่า
A : I am doing fine/good. เมื่อมี doing ก็ต้องตอบ doing
คำถามนี้ คนไทยอาจจะงงว่า ทำไมต้องมี doing ด้วย มันเป็นสำนวนนะ อย่าคิดมาก
ตัวอย่างที่ 2 คำถามนี้สำหรับคนที่ไม่ได้เจอกันมาระยะหนึ่งก็จะถามว่า
Q : How have you been? เป็นการถาม How are you? สำหรับคนที่ไม่เจอกันมาระยะหนึ่ง
A : I have been fine/good. ตอบตามไวยากรณ์ของคำถาม
ตัวอย่างที่ 3 อันนี้กำลังฮิตในหมู่วัยรุ่นแร็พโย่มาก และกลายเป็นคำถามที่ตลกสำหรับคนไทยไปแล้ว
Q : What’s up? คำถามนี้ให้ระวังไว้ว่าใช้ได้กับเพื่อนเท่านั้นห้ามใช้กับผู้ใหญ่เด็ดขาด
A : Fine/good. ตอบเหมือนถามว่า How are you? ธรรมดานั่นแหละ
จากการทักทายก็จะนำเข้าสู่การสนทนา การสนทนาของฝรั่งก็เหมือนกับคนไทยนั่นแหละ ที่พูดตั้งแต่เรื่องสัพเพเหระ ไปจนถึงเรื่องจริงจังแล้วแต่ว่า ผู้สนทนาสนใจด้านไหน แต่ประเด็นก็คือคำศัพท์และสำนวนที่ฝรั่งใช้ คนไทยไม่เข้าใจหรือใช้ไม่เป็น

เวลาพูดถึงเรื่องความรัก แล้วคนไทยต้องการใช้คำว่ารักแท้ คนไทยมักจะพูดว่า Real love ซึ่งผิด เพราะฝรั่งใช้คำว่า True love สำหรับรักแท้ หรือว่าจะพูดว่าฉันรักคุณจริงๆ ต้องพูดว่า I truly love you.ไม่ใช่ I really love you.ในกรณีประโยคนี้ก็สามารถใช้ได้แต่ถ้าจะให้ถูกต้องต้องพูดว่า I truly love you. และอย่าลืมใช้คำว่า True love ไม่ใช่ Real love

สำนวนหลายสำนวนที่คนไทยอาจจะงงว่าแปลว่าอะไร อย่างเช่น สำนวนต่อไปนี้
If you were in my shoes,… แปลว่าถ้าคุณมาเป็นฉัน ไม่ใช่ถ้าคุณมาใส่รองเท้าของฉัน
ตัวอย่างประโยค If you were in my shoes, you would know how I feel. แปลว่าถ้าคุณเป็นฉันแล้วคุณจะรู้ว่าฉันรู้สึกอย่างไร

A piece of cake แปลว่าง่ายมาก ถ้าเปรียบเป็นสำนวนไทยก็คือง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก ตัวอย่างประโยค Learning English is a piece of cake. แปลว่าการเรียนภาษาอังกฤษง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก
Break your legs สำนวนนี้ใช้ตอนที่คู่สนทนากำลังจะไปทำอะไรที่สำคัญ เช่น แสดงคอนเสิร์ต เราสามารถพูดได้ว่า Break your legs. แปลได้ว่า ทำให้ดีที่สุดอย่าเข้าใจผิดว่าฝรั่งแช่งให้ขาหัก

Leave it on ice สำนวนนี้แปลว่า ลืมมันไปเถอะ ใช้เวลาคู่สนทนาถามถึงการทำเรื่องอะไรต่างๆ แล้วถ้าตอบกลับมาว่า Leave it o?n ice ก็หมายถึงลืมเรื่องนั้นไปซะเถอะ

Ice-breaking หมายถึงการทำความรู้จักกับคนแปลกหน้าให้มากขึ้น เช่น การพูดคุยถามถึงเรื่องราวต่างๆ กับคู่สนทนาเพื่อให้รู้จักกันมากขึ้น

อีกอย่างหนึ่งที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่ทราบ คือ ความแตกต่างระหว่างภาษาอังกฤษที่ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกาและที่ใช้ในประเทศอังกฤษ หรือจะเรียกได้ว่าภาษาอังกฤษมี 2 แบบคือ อังกฤษแบบอเมริกัน (American English) และอังกฤษแบบบริติช (British English) (บริติชเป็นคำที่ใช้สำหรับเรียกสหราชอาณาจักรซึ่งก็คือ ประเทศอังกฤษ ประเทศสกอตแลนด์ และประเทศเวลส์ ซึ่งเป็นต้นแบบของภาษาอังกฤษนั่นเอง) นอกจากสำเนียงที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดแล้ว คำศัพท์หลายคำที่ใช้ก็ต่างกันด้วย อย่างเช่น
คำว่าห้องน้ำ แบบอเมริกันมักใช้คำว่า Restroom แต่แบบอังกฤษมักใช้คำว่า Toilet ซึ่งผู้เขียนเคยมีประสบการณ์ตรงเมื่อไปถามคนอเมริกันว่า Where is the toilet? แล้วเขาก็ตอบมาแบบงงๆ ว่า What is the toilet? ซึ่งเขาไม่รู้จริงๆ ว่า Toilet แปลว่าห้องน้ำ ถามอยู่ตั้งนาน พอบอกว่า Restroom แล้วเขาถึงอ๋อ แหม หน้าแตกเลย

การใช้ตัว –z กับตัว –s บางคำอเมริกันจะใช้ตัว –z สะกด แต่แบบบริติชจะใช้ตัว –s สะกดโดยเฉพาะคำที่ลงท้ายด้วย –lize/-lise เช่นคำว่า centralize/-lise, memorize/lise เป็นต้น

ส่วนเรื่องที่จะแยกอย่างไรระหว่างคนอเมริกันกับคนอังกฤษ ให้ลองฟังสำเนียงดู ถ้าพูดแล้วฟังดูคุ้นเคยหน่อย พูดแบบสบายๆ เหมือนในหนังส่วนใหญ่ที่ได้ยิน นั่นเป็นแบบอเมริกัน ส่วนถ้าฟังแล้วสำเนียงเป็นแบบทุ้มๆ ลงคอ ดูเมื่อยปาก (แต่ใครๆ ว่าเพราะ) นั่นเป็นแบบอังกฤษถ้าใครนึกไม่ออก ก็ลองดูหนังเรื่อง Bridget Jone’Diary ดูนั่นน่ะ สำเนียงอังกฤษทั้งเรื่องเลย ลองทำความคุ้นเคยดูจะได้แยกออกว่า ควรจะใช้คำแบบไหนกับใครดี

อีกปัญหาหนึ่งของคนไทยคือ การออกเสียง ที่มักจะออกผิดไปจากต้นแบบ อาจเป็นเพราะได้เรียนมาอย่างนั้น หรืออาจเป็นเพราะไม่ทราบ และอ่านไปตรงตัวแต่ผิดจากที่ฝรั่งอ่านเช่นคำดังต่อไปนี้
Camel ที่แปลว่า อูฐ คนไทยส่วนใหญ่เลยออกเสียงว่า คา-เมล แต่จริงๆ แล้วต้องออกเสียงว่า แค-เมิล คำนี้นั้นทำนักเรียนไทยในเมืองนอกปล่อยไก่มานักต่อนักแล้ว ระวังให้ดี
Island ที่แปลว่า เกาะ คำนี้อ่านว่า ไอ-แลนด ไม่ต้องออกเสียง –s ตรงกลาง และไม่ใช่ อิส-แลน อันหลังนี่ผิดอย่างมหันต์เลย

ทักษะสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่มาพร้อมกับการพูด คือ การฟัง ถ้าสำเนียงดีแต่ฟังฝรั่งพูดไม่รู้เรื่องก็ไม่เป็นผล นอกจากนี้การฟังได้ดีเป็นตัวช่วยเสริมด้านการออกเสียง อย่างข้อแนะนำในการฝึกพูดก็เรียนรู้มาจากการฟังด้วย การฟังเป็นตัวช่วยที่ดีที่สุดในการออกเสียงให้ถูกต้อง แต่อย่าเพิ่งตกใจว่าเวลาลองฝึกฟังแล้วยังฟังไม่ออก ของอย่างนี้มันต้องใช้เวลา มีน้อยคนนักที่จะฟังฝรั่งออกทุกคำ แค่ฟังพอจับใจความสำคัญได้ก็พอ ไม่ต้องกลัวว่าฟังไม่ออกทุกคำแล้วจะเข้าใจผิด มันจะพาลทำให้ไม่กล้าพูด ถ้าฟังไม่ออกจริงๆ ก็ขอให้เขาพูดอีกครั้ง ไม่ต้องกลัว ฝรั่งเข้าใจ ผู้เขียนมีเคล็ดลับในการฟังมาให้ลองใช้ดู ดังนี้

เวลาฟังให้อ่านปากคนพูดไปด้วย มันจะทำให้เราจับคำพูดได้ชัด วิธีนี้ได้ผลมาก ลองฝึกดู ต่อไปจะทำให้การฟังดีขึ้นเรื่อยๆ จนไม่ต้องอ่านปากก็ฟังได้เข้าใจดี วิธีนี้ถ้าไม่มีโอกาสได้คุยกับฝรั่งโดยตรง ก็ฝึกได้จากการดูภาพยนตร์

ตั้งใจจับคำสำคัญให้ได้ไม่ต้องมัวแต่ฟังเพลิน ในภาษาพูดฝรั่งมีคำเสริมเยอะ ซึ่งบางคำไม่มีความหมายและไม่มีผลต่อความเข้าใจ ซึ่งถ้าเราจับคำสำคัญได้โดยน้ำเสียง และอ่านท่าทาง สีหน้าของผู้พูดไปด้วย จะทำให้เราเดาความหมายที่ผู้พูดต้องการได้

ถ้าฟังไม่เข้าใจ ก็ขอให้เขาพูดใหม่อีกครั้ง เขารู้อยู่แล้วล่ะว่าจะต้องพูดช้าลง โดยขอร้องว่า “pardon” คำสั้นๆ นี้หมายถึง “อะไรนะ” เป็นคำที่ง่าย สะดวกต่อการใช้มากกว่าประโยคขอร้องยาวๆ และสุภาพกว่าจะทำเสียง ฮะ

หัดดูรายการโทรทัศน์หรือวิทยุที่เป็นภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะรายการข่าว ซึ่งผู้ประกาศจะใช้สำเนียงที่ดี สุภาพ และเป็นการฝึกที่ได้ประโยชน์ด้วย

เพราะฉะนั้น การที่จะพูดภาษาอังกฤษได้ดี ต้องใช้การฝึกฝน เรียนรู้ และความกล้าแสดงออก นอกจากนี้ ยังต้องเรียนรู้วัฒนธรรมของเจ้าของภาษาด้วย ถึงจะทำให้ทุกอย่างลงตัว ดังนั้น จึงต้องใช้เวลาในการสร้างพื้นฐานที่ดีพอสมควร นักเรียนจึงต้องใจเย็น เรียนรู้แบบค่อยเป็นค่อยไป อย่าใจร้อนคิดไปก่อนว่าตนเองทำไม่ได้ และไม่มีความสามารถ ของอย่างนี้ต้องใช้เวลา

บทความจาก

http://my.dek-d.com/AoMsIn0_o/story/view.php?id=247033